แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย veora11 เมื่อ 1-11-2014 14:45
แม้ว่าจะใกล้เข้าสู่ช่วงต้นหน้าหนาวแล้ว แต่ฝนก็ยังคงตกไม่หยุดหย่อน ทำให้หลายพื้นที่มีน้ำท่วมขังไปตามๆ กัน และยังเป็นอุปสรรคแก่ผู้สัญจรไปมา ผู้ขับขี่จึงต้องขับเคลื่อนรถไปอย่างช้าๆ เกิดเป็นปัญหาฝนตกรถติดด้วย ในสถานการณ์แบบนี้หากต้องเผชิญกับน้ำท่วมขัง ลองมาดูวิธีการรับมือกับปัญหาเหล่านี้กัน
1. ขับรถเมื่อฝนตกหรือถนนลื่น ต้องระวังเป็นอย่างมาก ถนนจะลื่นมาก เพราะน้ำฝนฝุ่นโคลน จะรวมกันกลายเป็นฟิล์มรองรับระหว่างยางกับพื้นถนนรถจะเกิดการลื่นเสียหลัก เมื่อวิ่งผ่านหากขับรถฝ่าสายฝนต้องลดความเร็วลงให้มากกว่าปกติ ควรใช้เกียร์ต่ำกว่าปกติ1 เกียร์จะทำให้รถเกาะจับถนนได้ดีขึ้นขณะขับรถให้เปิดไฟหรี่หรือไฟใหม่ตามแต่สถานการณ์ การเปิดไฟจะช่วยให้รถคันอื่นมองเห็นเราควรหลีกเลี่ยงการเบรกอย่างกะทันหันจะทำให้รถลื่นไถลหรือหมุนกลางถนนได้ถ้ารถเริ่มเสียหลักให้ผู้ขับขี่ ถอนคันเร่งจะทำให้รถเกาะขับถนนได้ดีรถวิ่งผ่านแอ่งน้ำ ให้ยกเท้าออกจากคันเร่งโดยทันที อย่าเบรกอย่าหักพวงมาลัย จับพวงมาลัยให้แน่นเมื่อรถลดความเร็วลงหรือผ่านแอ่งน้ำไปแล้ว รถก็จะเริ่มจับเกาะถนนได้และก็สามารถควบคุมได้
2. ระดับน้ำท่วมผิวถนน ระดับความลึกของน้ำประมาณไม่เกิน 6 นิ้ว ไม่มีผลต่อรถของเรา ส่วนที่จมน้ำจึงมีเพียงลูกหมากและบูชยางของระบบรองรับและระบบบังคับเลี้ยวเท่านั้น ชิ้นส่วนเหล่านี้ถูกออกแบบมาให้แช่น้ำชั่วคราวได้โดยไม่เกิดความเสียหาย สิ่งสำคัญที่สุด คือ การรักษาระดับความเร็วของรถโดยขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ น้ำที่ถูกล้อรถรีดด้วยความเร็วจะทะลักพุ่งออกมาทางด้านข้างอย่างแรง ฉีดไปที่ห้องเครื่องยนต์อาจทำให้กระแสไฟจุดระเบิดลัดวงจรและเครื่องดับ หรือไม่ก็ฉีดไปบนห้องเกียร์และเล็ดลอดเข้าไปภายในทำให้น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพได้
3. ระดับที่ผิวน้ำสูงถึงท้องรถ ถ้าขณะขับรถได้ยินเสียงน้ำกระทบท้องรถ ควรขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงการตกหลุมที่มองไม่เห็นโดยสังเกตจากรถคันหน้าและพยายามจำแนวไว้ ความลึกระดับนี้จานเบรกจะจมอยู่ในน้ำตลอดเวลา รถที่ใช้ดรัมเบรกประสิทธิภาพการทำงานจะลดลงอย่างมาก หากพ้นช่วงน้ำท่วมจะต้องทดสอบเบรกทันทีโดยการเบรกและเร่งความเร็วสลับกันไป เพื่อให้ผ้าเบรกรีดน้ำจากจานเบรก และเพื่อให้จากเบรกหรือดุมเบรกร้อนจนน้ำระเหยเป็นไอหมด
4.ระดับที่น้ำท่วมเลยท้องรถ ไม่ว่าจะขับช้าเพียงใดน้ำก็อาจจะทะลักท่วมห้องเกียร์และเฟืองท้าย (รถขับเคลื่อนล้อหลัง)ผสมกับน้ำมันเกียร์ และน้ำมันเฟืองท้ายทำให้เสื่อมสภาพ ฟันเฟืองต่างๆ ภายในจะสึกหรออย่างรวดเร็ว เนื่องจากน้ำใต้ท้องรถจะแทรกซึมเข้ามาทางจุกยางหลายจุดจากพื้นรถพรม และฉนวนกันเสียงจะชุ่ม หากเจ้าของรถไม่รีบรื้อเก้าอี้และถอดออกมาผึ่งแดด รถบางรุ่นจะมีศูนย์ควบคุมระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ECU)อยู่ใต้เก้าอี้ซึ่งชิ้นส่วนนี้มีราคาสูงมาก หากความชื้นเล็ดลอดเข้าไปจะชำรุดภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่วนด้านหน้ารถก็เกิดความเสียหายไม่น้อยเช่น ใบพัดของพัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำ ซึ่งอยู่ด้านหลังของหม้อน้ำจะดูดน้ำจากด้านหน้าใบพัดซึ่งทำจากพลาสติกจะงอไปทางด้านหน้าครูดกับรังผึ้งหม้อน้ำจนหัก น้ำซึ่งถูกกันชนหน้ารถดันจนสูงอาจทะลักเข้าทางขั้วของโคมไฟหน้ากลายเป็นไอน้ำสะสมอยู่ภายในและจะทำลายผนังโคมที่ฉาบปรอทไว้ซึ่งจะทำให้หลุดล่อนได้
5.ระดับน้ำท่วมจนถึงไฟหน้า เป็นระดับน้ำที่อันตรายที่สุด หากขับหรือจอดอยู่นานน้ำท่วมภายในห้องโดยสารจนถึงเบาะนั่งห้องเกียร์และเฟืองท้ายจะถูกท่วมมิด หากเครื่องยนต์ไม่ดับไปเสียก่อนเนื่องจากระบบจุดระเบิดขัดข้อง และผู้ขับยังฝืนขับรถด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ น้ำจะทะลักเข้าทางท่อดูดอากาศ ผ่านไส้กรองอากาศ ท่อไอดีและเข้าไปในกระบอกสูบ ลูกสูบที่กำลังเคลื่อนที่ขึ้นอย่างรวดเร็วจะกระแทกกับปริมาตรน้ำอย่างรุนแรงจนลูกสูบและก้านสูบชำรุดทันที
หากต้องเจอกับถนนที่มีน้ำท่วมลึกควรหลีกเลี่ยง โดยกลับรถเพื่อเปลี่ยนเส้นทางหรือหาที่จอดรถซึ่งน้ำท่วมไม่ถึงไว้ก่อน แล้วหารถอื่นไปแทนเป็นการประหยัดค่าซ่อมรถได้มากทีเดียว ทางที่ดีทุกครั้งที่ต้องเดินทางควรตรวจเช็คประกันรถก่อน ถ้าประกันรถหมดอายุ อย่าปล่อยไว้นาน ควรรีบต่อประกันโดยเร็ว กรณีฉุกเฉินประกันออนไลน์ไดเร็คเอเชียก็เป็นอีกทางเลือกที่ดี เพื่อความปลอดภัยของเรา อย่างน้อยๆ ก็รู้สึกอุ่นใจทุกครั้งที่ออกเดินทาง
ที่มา: http://board.postjung.com/821014.html
วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น